ฃ้าพเจ้าจึ่งค้นหาดูศัพท์ต่างๆ ที่ พอจะใช้ได้เปนนามสตรี, ตกลงเลือกเอา “มัทนา”, จากศัพท์ “มทน” ซึ่งแปลว่าความลุ่มหลงหรือความรัก. พะเอินในขณที่ค้นนั้นเองได้พบศัพท์ “มทนพาธา”, ซึ่งโมเนียร์ วิลเลียมส๎ แปลไว้ว่า “the pain or disquietude of affection (“ความเจ็บหรือเดือดร้อนแห่งความรัก”) ซึ่งฃ้าพเจ้าได้ฉวยเอาทันที, เพราะเหมาะกับลักษณะแห่งเรื่องทีเดียว. ส่วนวิธีเล่นเรื่อง “มัทนะพาธา” นี้, ฃ้าพเจ้ากำหนดไว้ให้ตัวละคอนพูดบทของตนเอง, ไม่ใช่ร้องบทนั้น ๆ อย่างแบบที่เรียกกันว่า “ละคอนดึกดำบรรพ์”, ต่อเมื่อบทใดเปนบทขับร้องจึ่งให้ร้อง; กับให้มีดนตรีเล่นคลอเสียงเบา ๆ ในเวลาที่เจรจา, และมีน่าพาทย์กำหนดลงไว้บางแห่งเพื่อช่วยการดำเนิรแห่งเรื่อง. ตามที่หลวงธุระกิจภิธาน ค้นได้ความมาเช่นนี้ ฃ้าพเจ้าคเณว่าผู้ที่เปนนักเลงหนังสือและนักเรียนคงจะพอใจที่จะได้ทราบด้วย, ฃ้าพเจ้าจึ่งได้นำมาลงไว้ในที่นี้, และฃ้าพเจ้าถือเอาโอกาสนี้เพื่อขอบใจหลวงธุระกิจภิธาน ในการที่ได้เอาใจใส่ค้นศัพท์นี้ได้สมปราถนาของฃ้าพเจ้า.
ละคอนเรื่องนี้ไม่ใช่ได้เนื้อเรื่องหรือตัดตอนมาจากแห่งใด ๆ เลย, จึ่งขอบอกไว้ให้ผู้อ่านทราบเพื่อไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวค้นหาเรื่องนี้ในหนังสือโบราณใด ๆ แก่นแห่งเรื่องนี้, ได้เคยมีติดอยู่ในใจของฃ้าพเจ้ามาช้านานแล้ว, แต่เพราะเหตุต่าง ๆ ซึ่งไม่จำจะต้องแถลงในที่นี้ ฃ้าพเจ้ามิได้ลงมือแต่งเรื่องนี้, จนมาเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๔๖๖, เมื่อได้บังเกิดมีเหตุบังคับให้ฃ้าพเจ้าต้องอยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ, ฃ้าพเจ้าจึงได้หวลนึกขึ้นถึงเรื่องนี้. เมื่อนึกตั้งโครงเรื่องขึ้นได้แล้ว, ได้เกิดมีปัญหาขึ้นว่าจะให้นางในเรื่องนี้ถูกสาปเปนดอกไม้อย่างใด, มีผู้เห็นกันโดยมากว่าควรให้เปนดอกกุหลาบ, เพราะเปนดอกไม้ที่คนทั้งโลกทุกชาติทุกภาษานิยมว่างามและหอมชื่นใจยิ่งกว่าดอกไม้อย่างอื่นๆ. ถ้าในภารตะวรรษไม่เคยมีดอกกุหลาบ จะแต่งลงไปว่ามีดูเปนการฝ่าฝืนธรรมดาไป, อาจทำให้ถูกติว่าเปนคนตื้นก็ได้. ก่อนที่ได้ทราบว่าดอกกุหลาบเรียกว่าอย่างไรในภาษาสันสกฤตนั้น, ฃ้าพเจ้าได้นึกไว้ว่าจะให้ชื่อนางเอกในเรื่องนี้ตามนามแห่งดอกไม้; แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าดอกกุหลาบคือ “กุพฺชก” เลยต้องเปลี่ยนความคิด, เพราะถ้าแม้ว่าจะให้ชื่อนางว่า“กุพฺชกา” ก็จะกลายเปนนางค่อมไป.